เชียงตุง รัฐคู่แฝดเมือง เชียงใหม่
การเดินทาง จากด่านแม่สายเข้าสู่พม่าที่ด่านท่าขี้เหล็ก ผ่านเมืองพยาก รถวิ่งเลียบขนานไปกับแม่น้ำเขิน หรือขึน แม่น้ำสำคัญของเชียงตุง ผ่านจุดสูงสุด ที่เรียกว่าปางควาย จุดจอดพักรถ ชมวิว หรือจะซื้อสินค้าพื้นเมืองที่มีหลากหลาย ไม่นานรถบัสพม่าที่มีพวงมาลัยขวา แต่วิ่งเลนขวานำพาคณะเราเดินทางกว่า 168 กิโลเมตรผ่านถนนลาดยางอันขรุขระ คดเคี้ยว โอบล้อมด้วยขุนเขาและนาขั้นบันไดอันเขียวชะอุ่ม ก็นำพาผมและคณะ เข้าสู่ "เขมรัฐนครเชียงตุง" โดยใช้เวลาเดินทางประมาณ 4 ชั่วโมง
เราเช็คอิน ณ โรงแรม Amazing Keng Tong Resort (นิวเชียงตุง เดิม) ซึ่งครั้งหนึ่งเคยเป็นที่ตั้งของหอคำเมืองเชียงตุง หอคำ ซึ่งในอดีตงดงาม เป็นตึกปูนศิลปะไทยใหญ่ผสมยุโรป ซึ่งกล่าวกันว่า งดงามและยิ่งใหญ่กว่าหอหลวงไทยใหญ่เมืองไหนๆ ถ้าจะลองหลับตานึกเปรียบเทียบก็คงคล้ายๆ กับพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ น่าน ที่เคยเป็นหอคำเมืองน่าน
น่าเสียดายที่ตอนนี้หอคำเมืองเชียงตุงที่ดูดีมีสง่ากลับไม่มีอยู่อีกแล้ว ผมได้แค่ดูภาพจากโปสการ์ด และภาพติดอยู่ข้างฝาตามร้านค้าของชาวบ้านทั่วไป รัฐบาลพม่าขณะนั้น (พ.ศ.2535) สั่งทุบทิ้งเพื่อใช้เป็นสถานที่สร้างโรงแรมเพื่อรองรับนักท่องเที่ยว ในนาม นิวเชียงตุง ก่อนจะเปลี่ยนมาเป็น Amazing Keng Tong Resort ในปัจจุบัน
การเดินทาง จากด่านแม่สายเข้าสู่พม่าที่ด่านท่าขี้เหล็ก ผ่านเมืองพยาก รถวิ่งเลียบขนานไปกับแม่น้ำเขิน หรือขึน แม่น้ำสำคัญของเชียงตุง ผ่านจุดสูงสุด ที่เรียกว่าปางควาย จุดจอดพักรถ ชมวิว หรือจะซื้อสินค้าพื้นเมืองที่มีหลากหลาย ไม่นานรถบัสพม่าที่มีพวงมาลัยขวา แต่วิ่งเลนขวานำพาคณะเราเดินทางกว่า 168 กิโลเมตรผ่านถนนลาดยางอันขรุขระ คดเคี้ยว โอบล้อมด้วยขุนเขาและนาขั้นบันไดอันเขียวชะอุ่ม ก็นำพาผมและคณะ เข้าสู่ "เขมรัฐนครเชียงตุง" โดยใช้เวลาเดินทางประมาณ 4 ชั่วโมง
เราเช็คอิน ณ โรงแรม Amazing Keng Tong Resort (นิวเชียงตุง เดิม) ซึ่งครั้งหนึ่งเคยเป็นที่ตั้งของหอคำเมืองเชียงตุง หอคำ ซึ่งในอดีตงดงาม เป็นตึกปูนศิลปะไทยใหญ่ผสมยุโรป ซึ่งกล่าวกันว่า งดงามและยิ่งใหญ่กว่าหอหลวงไทยใหญ่เมืองไหนๆ ถ้าจะลองหลับตานึกเปรียบเทียบก็คงคล้ายๆ กับพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ น่าน ที่เคยเป็นหอคำเมืองน่าน
น่าเสียดายที่ตอนนี้หอคำเมืองเชียงตุงที่ดูดีมีสง่ากลับไม่มีอยู่อีกแล้ว ผมได้แค่ดูภาพจากโปสการ์ด และภาพติดอยู่ข้างฝาตามร้านค้าของชาวบ้านทั่วไป รัฐบาลพม่าขณะนั้น (พ.ศ.2535) สั่งทุบทิ้งเพื่อใช้เป็นสถานที่สร้างโรงแรมเพื่อรองรับนักท่องเที่ยว ในนาม นิวเชียงตุง ก่อนจะเปลี่ยนมาเป็น Amazing Keng Tong Resort ในปัจจุบัน
หอคำเชียงตุงในอดีตก่อนถูกรัฐทหารพม่าสั่งทุบทิ้ง ในปี 2535
ชาวเชียงตุงส่วนใหญ่เป็นชาวไต หรือไทยใหญ่รัฐฉาน มีชื่อเฉพาะตามลำน้ำสายหลักของเมืองว่าไตขึน หรือไตเขิน ซึ่งมีความผูกพันทางชาติพันธุ์และประวัติศาสตร์กลับชาวไทยล้านนามาอย่างยาวนาน เชียงใหม่และเชียงตุง ต่างมีสายสัมพันธ์ทางเครือญาติอยู่อย่างเหนียวแน่น
วัดเก่าแก่ใน...เมืองเชียงตุง
วัดส่วนใหญ่ในเชียงตุงอายุมากกว่า 600 กว่าปี ถือได้ว่ามีความเก่าแก่ร่วมสมัยกับเชียงใหม่ เชียงแสน น่าน และสุโขทัย หรือมากกว่ากรุงศรีอยุธยา 100-200 ปี และกรุงเทพฯ 400 ปี สภาพวัดวาในเชียงตุงในปัจจุบันยังบ่งบอกถึงความศรัทธาในพุทธศาสนาของชาวเชียงตุง เมื่อท่านเข้าไปในเขตวัดจะเห็นว่าของทุกสิ่งทุกอย่างในวัดชาวเชียงตุงทุ่มเทสละทรัพย์สินเงินทอง แรงกาย และแรงใจ แสดงฝีมือฝากศิลปะไว้เป็นพุทธบูชา สังเกตจากวิหารจะมีลักษณะเป็น “วิหารลายคำ” คือ มีการลงลักษณ์ปิดทองทั้งหลังตามแบบศิลปะไทขึนยังมีสภาพเหมือนกับเมื่อ 600 ปีที่แล้ว สำหรับทริปนี้พวกเราได้ไปเยี่ยมชมวัดต่างๆ ที่มีความเก่าแก่และสวยงามหลายวัด
วัดพระธาตุจอมคำ
วัดพระธาตุจอมคำ เดิมมีชื่อว่าวัดพระธาตุจอมสร้าง สร้างโดยจันทรสิกขะและฤาษี 4 ตน มีอายุประมาณ 1,200 กว่าปี ตามประวัติกล่าวว่า เป็นพระธาตุที่ทำจากทองคำแท้สูง 226 ฟุตกว้าง 84 ฟุต ประดับด้วยเพชรพลอยมากประมาณ 882 เม็ด ภายในพระอุโบสถมีสถาปัตยกรรมและศิลปกรรมที่งดงาม ผสมผสานระหว่างศิลปะล้านนา ไทยใหญ่ และพม่า เข้าด้วยกัน มีวรรณกรรมเรื่องมหาชาติ โดยช่างฝีมือจริง ๆ ด้านหน้าอุโบสถ มีศาลาคล้ายวิหารคด และสุดท้ายมีตู้ที่เก็บคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนาที่วิจิตรอลังกาล
วัดพระธาตุจอมคำมีการปรับปรุงซ่อมแซมมาหลายครั้งดังนี้พ.ศ. 2052 พระยาอาติตราชให้ชื่อว่า พระธาตุจอมคำ พ.ศ. 2062 นางสุคันธาเกศา (นางผมหอม) ให้ชื่อว่า พระธาตุจอมตอ พ.ศ. 2477 เจ้าฟ้ารัตนะก้อนแก้วอินแถลงให้ชื่อว่า พระธาตุจอมตอง พ.ศ 2494 เจ้าฟ้าชายหลวงให้ชื่อว่า พระธาตุจอมคำ อีกครั้งหนึ่ง รวมถึงวัดทุกวัดในเชียงตุงจะมีกลองแขวนไว้ในวิหารทุกวัด ซึ่งจะใช้ตีกันในงานวันบุญใหญ่ของวัด โดยผู้บรรเลงจะเป็นสตรีวัยกลางคนจนถึงวัยชรา 5-7 คน ช่วยกันตีประโคมพร้อมกับฆ้องและฉาบ
วัดส่วนใหญ่ในเชียงตุงอายุมากกว่า 600 กว่าปี ถือได้ว่ามีความเก่าแก่ร่วมสมัยกับเชียงใหม่ เชียงแสน น่าน และสุโขทัย หรือมากกว่ากรุงศรีอยุธยา 100-200 ปี และกรุงเทพฯ 400 ปี สภาพวัดวาในเชียงตุงในปัจจุบันยังบ่งบอกถึงความศรัทธาในพุทธศาสนาของชาวเชียงตุง เมื่อท่านเข้าไปในเขตวัดจะเห็นว่าของทุกสิ่งทุกอย่างในวัดชาวเชียงตุงทุ่มเทสละทรัพย์สินเงินทอง แรงกาย และแรงใจ แสดงฝีมือฝากศิลปะไว้เป็นพุทธบูชา สังเกตจากวิหารจะมีลักษณะเป็น “วิหารลายคำ” คือ มีการลงลักษณ์ปิดทองทั้งหลังตามแบบศิลปะไทขึนยังมีสภาพเหมือนกับเมื่อ 600 ปีที่แล้ว สำหรับทริปนี้พวกเราได้ไปเยี่ยมชมวัดต่างๆ ที่มีความเก่าแก่และสวยงามหลายวัด
วัดพระธาตุจอมคำ
วัดพระธาตุจอมคำ เดิมมีชื่อว่าวัดพระธาตุจอมสร้าง สร้างโดยจันทรสิกขะและฤาษี 4 ตน มีอายุประมาณ 1,200 กว่าปี ตามประวัติกล่าวว่า เป็นพระธาตุที่ทำจากทองคำแท้สูง 226 ฟุตกว้าง 84 ฟุต ประดับด้วยเพชรพลอยมากประมาณ 882 เม็ด ภายในพระอุโบสถมีสถาปัตยกรรมและศิลปกรรมที่งดงาม ผสมผสานระหว่างศิลปะล้านนา ไทยใหญ่ และพม่า เข้าด้วยกัน มีวรรณกรรมเรื่องมหาชาติ โดยช่างฝีมือจริง ๆ ด้านหน้าอุโบสถ มีศาลาคล้ายวิหารคด และสุดท้ายมีตู้ที่เก็บคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนาที่วิจิตรอลังกาล
วัดพระธาตุจอมคำมีการปรับปรุงซ่อมแซมมาหลายครั้งดังนี้พ.ศ. 2052 พระยาอาติตราชให้ชื่อว่า พระธาตุจอมคำ พ.ศ. 2062 นางสุคันธาเกศา (นางผมหอม) ให้ชื่อว่า พระธาตุจอมตอ พ.ศ. 2477 เจ้าฟ้ารัตนะก้อนแก้วอินแถลงให้ชื่อว่า พระธาตุจอมตอง พ.ศ 2494 เจ้าฟ้าชายหลวงให้ชื่อว่า พระธาตุจอมคำ อีกครั้งหนึ่ง รวมถึงวัดทุกวัดในเชียงตุงจะมีกลองแขวนไว้ในวิหารทุกวัด ซึ่งจะใช้ตีกันในงานวันบุญใหญ่ของวัด โดยผู้บรรเลงจะเป็นสตรีวัยกลางคนจนถึงวัยชรา 5-7 คน ช่วยกันตีประโคมพร้อมกับฆ้องและฉาบ
วัดพระธาตุจอมคำ
มองจากวัดพระธาตุจอมคำ จะเห็นพระยืนชี้นิ้ว อีกฟากฝั่งของหนองตุง
ชมบ้านตีมีดใกล้วัดพระธาตุจอมคำ
เพียงเดินออกมาจากประตูด้านข้างของวัดจอมคำ ผมก็เจอกับหมู่บ้านตีมีด ที่กำลังทำกันอย่างขะมักเขม้น งานมีดที่เชียงตุงขึ้นชื่อลือชามานาน เพราะใช้เหล็กคุณภาพดี ในการนำมาตี กรรมวิธีในการตีมีดของที่นี่ ยังใช้วิธีแบบโบราณ แต่ก็มีบ้างที่ใช้เครื่องมือสมัยใหม่ในการลับคมมีด เพื่อความสะดวกรวดเร็ว
เพียงเดินออกมาจากประตูด้านข้างของวัดจอมคำ ผมก็เจอกับหมู่บ้านตีมีด ที่กำลังทำกันอย่างขะมักเขม้น งานมีดที่เชียงตุงขึ้นชื่อลือชามานาน เพราะใช้เหล็กคุณภาพดี ในการนำมาตี กรรมวิธีในการตีมีดของที่นี่ ยังใช้วิธีแบบโบราณ แต่ก็มีบ้างที่ใช้เครื่องมือสมัยใหม่ในการลับคมมีด เพื่อความสะดวกรวดเร็ว
บ้านตีมีดแบบโบราณใกล้วัดจอมคำ
วัดเชียงยืน
ไม่ห่างจากวัดจอมคำมากนัก ผมและคณะเดินลงไปทางหนองตุง ได้แวะชม วัดเชียงยืน ซึ่งเป็นวัดสุดท้ายของวัน ก่อนที่ตะวันจะลับฟ้า ในแผ่นดินเมืองเชียงตุง เสียดายที่มีโอกาสเก็บภาพในวัดนี้ได้น้อย เพราะเวลาของวันกำลังจะหมดลง
วัดเชียงยืน หรือ วัดเจ๋งยิน (สำเนียงไทขึน) ถือได้ว่าเป็นวัดหลวงของเชียงตุง ที่มีความเป็นมาเก่าแก่ ภายในวิหาร มีพระพุทธรูปประทับยืน 1 องค์ ซึ่งเป็นที่มาของชื่อวัดแห่งนี้ รวมถึงภายในวิหารยังมีการตกแต่งอย่างสวยงาม ตามแบบฉบับเชียงตุง สำหรับวัดเชียงยืนยังเป็นที่ประทับขององค์สังฆราชอาญาธรรม หรือสังฆราชเชียงตุง วัย 86 ปี (เจ้าคณะจังหวัดเชียงตุง)
โชคดีมากที่คณะเรามีโอกาสเข้าไปกราบนมัสการท่าน ทราบมาว่าองค์สังฆราชแห่งเชียงตุงยังเคยเสด็จมาเมืองไทยหลายครั้ง เช่น เชียงใหม่ เชียงราย ลำปาง และน่าน องค์สังฆราชแห่งเชียงตุงพูดคุยภาษาไทยกับชาวคณะเรา ได้อย่างชัดเจน
ภายในศาลาวัดเชียงยืน
องค์สังฆราชอาญาธรรม หรือสังฆราชเชียงยืน วัย 86 ปี (เจ้าคณะจังหวัดเชียงตุง)
เณรน้อย วัดเชียงยืน คอยเปิดศาลาให้เราเข้าชมภายใน
ภายในศาลาวัดเชียงยืน มีน้ำชาไว้คอยต้อนรับแขกผู้มาเยือนหลายสำรับ
บริเวณใกล้ๆวัดเชียงยืน มีหอคำเก่าแก่ ที่เป็นตึกโบราณให้ชมหลายหลัง
อาหารค่ำริมหนองตุง
วันแรกของการเยือนเชียงตุง ของผมและคณะ(โครงการสำรวจเส้นทางการท่องเที่ยวเชื่อมโยง ไทย-เมียนมาร์)จบลงที่ร้านอาหารท้องถิ่นริมหนองตุงหนองน้ำในตำนานแห่งเมืองเชียงตุง ที่ร้านแห่งนี้ผมมีโอกาสชิมยำใบชาครั้งแรกซึ่งเป็นอาหารพื้นบ้านอร่อยมากครับ ในช่วงเย็นผมมีโอกาสชมบรรยากาศ ความงามของหนองตุง ได้นิดเดียว ก็มืดแล้ว พรุ่งนี้เช้าผมจะตื่นแต่เช้าเดินจากโรงแรมที่พักมาชมบรรยากาศรอบๆ หนองตุงอีกครั้ง
หนองตุง กับบรรยากาศยามเย็น
มะหล่า...ปิ้งย่าง อาหารยอดฮิตของชาวเชียงตุงหลังจากผมและคณะ รับประทานอาหารพื้นบ้านริมหนองตุงจนอิ่มแปร้ ผมถือโอกาสขอแยกกับคณะไม่ขอขึ้นรถ ออกเดินลัดเลาะชมบรรยากาศรอบๆหนองตุงในยามค่ำคืนไปยังที่พักเรื่อยๆ ผมสังเกตุเห็นวัยรุ่นหนุ่มสาว ชาวเชียงตุง มักออกมานั่งกินอาหาร ในแบบปิ่งย่าง ตามร้านรอบๆหนองตุง ซึ่งมีตั้งอยู่หลายร้าน มีบางร้านตกแต่งเป็นร้านขายเบียร์ ขายเหล้า แม้บรรยากาศ โดยรวมจะไม่ดูคึกคัก แต่ผมก็ได้บรรยากาศย้อนยุค ในวัยเด็กของผมกับคืนมาอีกครั้ง...ผมเดิน เข้าไปถามว่า ปิ้งย่างยอดฮิตของที่นี่เขาเรียกว่าอะไร ผมได้รับคำตอบว่า..."มะหล่า"
มีคนเขาเล่าให้ฟังว่า ปิ้งย่างมะหล่า ในสไตล์สิบสองปันนา...เป็นเมนูที่ฮอตฮิตในเชียงตุงครับ...ต้นกำเนิดของปิ้งย่างแบบนี้เป็นของชาวมุสลิมอุยกูร์จากซินเจียงทางตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศจีน เป็นดินแดนส่วนหนึ่งของเส้นทางสายไหม พรมแดนของซินเจียงจะอยู่ติดกับหลายประเทศเช่นคาซัคสถาน ปากีสถาน รัสเซีย อินเดียฯลฯ วัฒนธรรมอาหารของที่นี่จะผสมผสานจากหลายชาติ ต่อมาชาวอุยกูร์เข้ามาทำมาหากินในเมืองต่างๆทั่วประเทศจีน ปิ้งย่างแบบนี้ก็เลยแพร่หลายไปทั่วจีน จนถึงในอีกหลายๆประเทศรอบๆ สำหรับสูตรสิบสองปันนามีการดัดแปลงทั้งวัตถุดิบและรสชาติจนเอกลักษณ์แตกต่างจากเดิมที่ใช้เพียงเนื้อแกะเสียบไม้
มีคนเขาเล่าให้ฟังว่า ปิ้งย่างมะหล่า ในสไตล์สิบสองปันนา...เป็นเมนูที่ฮอตฮิตในเชียงตุงครับ...ต้นกำเนิดของปิ้งย่างแบบนี้เป็นของชาวมุสลิมอุยกูร์จากซินเจียงทางตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศจีน เป็นดินแดนส่วนหนึ่งของเส้นทางสายไหม พรมแดนของซินเจียงจะอยู่ติดกับหลายประเทศเช่นคาซัคสถาน ปากีสถาน รัสเซีย อินเดียฯลฯ วัฒนธรรมอาหารของที่นี่จะผสมผสานจากหลายชาติ ต่อมาชาวอุยกูร์เข้ามาทำมาหากินในเมืองต่างๆทั่วประเทศจีน ปิ้งย่างแบบนี้ก็เลยแพร่หลายไปทั่วจีน จนถึงในอีกหลายๆประเทศรอบๆ สำหรับสูตรสิบสองปันนามีการดัดแปลงทั้งวัตถุดิบและรสชาติจนเอกลักษณ์แตกต่างจากเดิมที่ใช้เพียงเนื้อแกะเสียบไม้
ร้านปิ้งย่างรอบๆ หนองตุง กับอาหารฮิตฮอต...มะหล่า
การเดินรอบหนองตุง คล้ายกับการเดิน รอบๆ สนามหลวงบ้านเรา บ้านเมืองของเขาค่อนข้างเงียบสงบ รถราไม่พลุกพล่าน บ้านบางหลังปิดไฟมืด มองไปรอบๆ ไร้แสงสี เหตุเพราะที่นี่ค่อนข้างใช้ไฟกันอย่างประหยัดการติดตั้งไฟฟ้ายังไม่สมบูรณ์มากนัก
ผมเดินขึ้นไปทาง วัดมหาเมี๊ยะมุนี ซึ่งตั้งอยู่ใจกลางเมือง ตลอดเส้นทาง มีร้านค้าโชห่วย ร้านขายโทรศัพท์ ร้านอาหาร และร้านปิ้งย่างอยู่หลายร้าน มองดูคล้ายๆ กับตลาดโต้รุ่ง ในจังหวัดเล็กๆ ของบ้านเรา แต่ก็ทำให้เพลิดเพลิน กับสิ่งแปลกใหม่ บรรยากาศแสนวินเทรจ ซึ่งหาสัมผัสได้ยากในสังคมเมือง ของไทยเรา
อาหารการกินชาวเชียงตุง ร้านอาหารสำหรับนักท่องเที่ยวในตัวเมืองอยู่รอบหนองตุง มีอาหารทั้งแบบไทย พม่า เชียงตุง สำหรับคนไทยแล้วอาหารเชียงตุงเรื่องอาหารไม่มีปัญหาเพราะอาหารคนเชียงตุงเหมือนกับอาหารทางภาคเหนือของไทย เช่น ไส้อั่ว แคปหมู ปลาทอด กินกับข้าวเหนียวร้อนๆ อร่อยครับ ตามข้างถนนมีร้านก๋วยเตี๋ยว ข้าวอุ่น ข้าวซอย หากินได้ไม่ยาก
ผมเดินขึ้นไปทาง วัดมหาเมี๊ยะมุนี ซึ่งตั้งอยู่ใจกลางเมือง ตลอดเส้นทาง มีร้านค้าโชห่วย ร้านขายโทรศัพท์ ร้านอาหาร และร้านปิ้งย่างอยู่หลายร้าน มองดูคล้ายๆ กับตลาดโต้รุ่ง ในจังหวัดเล็กๆ ของบ้านเรา แต่ก็ทำให้เพลิดเพลิน กับสิ่งแปลกใหม่ บรรยากาศแสนวินเทรจ ซึ่งหาสัมผัสได้ยากในสังคมเมือง ของไทยเรา
อาหารการกินชาวเชียงตุง ร้านอาหารสำหรับนักท่องเที่ยวในตัวเมืองอยู่รอบหนองตุง มีอาหารทั้งแบบไทย พม่า เชียงตุง สำหรับคนไทยแล้วอาหารเชียงตุงเรื่องอาหารไม่มีปัญหาเพราะอาหารคนเชียงตุงเหมือนกับอาหารทางภาคเหนือของไทย เช่น ไส้อั่ว แคปหมู ปลาทอด กินกับข้าวเหนียวร้อนๆ อร่อยครับ ตามข้างถนนมีร้านก๋วยเตี๋ยว ข้าวอุ่น ข้าวซอย หากินได้ไม่ยาก
บรรยากาศยามค่ำคืน ใจกลางเมืองเชียงตุง
ร้านขายโรตี
ร้านขายหมาก
ร้านโชห่วยและร้านขายล๊อตเตอรี่พม่า
หลายร้านในเชียงตุงยังใช้ไฟสำลองจากแบ๊ตเตอรี่ เพราะกำลังไฟไม่พอ
ค่ำคืนนี้ผมมาจบลงที่ร้านปิ้งย่าง ซึ่งไม่ไกลจากที่พักมากนัก เห็นไกค์บอกว่า ร้านนี้เป็นร้านดั้งเดิมของเชียงตุง ขายมานาน จนเก็บเงินไปเที่ยวต่างประเทศหลายรอบ โดยเฉพาะประเทศไทย ปิ้งย่างมะหล่า แกล้มกับเบียร์ Myanma อร่อยไม่น้อย
ผมมาจบลงที่ร้านปิ้งย่างเก่าแก่ ที่ขายอยู่คู่เชียงตุงมานาน
วันนี้เป็นวันแรกที่ผมและคณะได้สัมผัสกับ "เขมรัฐนครเชียงตุง" เป็นเพียงการเดินทางทริปสั้นๆ ของพวกเรา ยังไม่ครบสำหรับการสำรวจเส้นทาง ท่องเที่ยวพรุ่งนี้อีกทั้งวัน ผมและคณะ ยังอยู่ที่นี่...แล้วตามไปเที่ยวในตอนต่อไปครับ
ติดตาม "มนต์เสน่ห์แห่ง...เชียงตุง" ได้ที่นี่ครับ
http://pantip.com/topic/35811510 (พันทิป)
http://zogzagtravelling.blogspot.com/2017/03/2.html
มนต์เสน่ห์แห่ง...เชียงตุง (เส้นทางท่องเที่ยวเชื่อมโยง ไทย-เมียนมาร์ ตอนที่1)
http://pantip.com/topic/35811510 (พันทิป)
http://zogzagtravelling.blogspot.com/2017/03/2.html
มนต์เสน่ห์แห่ง...เชียงตุง (เส้นทางท่องเที่ยวเชื่อมโยง ไทย-เมียนมาร์ ตอนที่1)
ติดตามแฟนเพจเฟสบุ๊คได้ที่
https://www.facebook.com/soksagtravelling/
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น