เป็นเวลานับสิบปีที่ผมเคยใช้ชวิต เป็นพนักงานโรงงานในเขตอุตสาหกรรมแหลมฉบัง อยู่กับสิ่งแวดล้อมที่คละคลุ้งไปด้วยกลิ่นควันไอเสีย จากปลายท่อของรถบรรทุกและปล่องควันของโรงงาน...
ชลบุรี เป็นเมืองที่อยู่ในเขตอุตสาหกรรมขนาดหนักระดับชาติ และ ยังเป็นเมืองที่โด่งดังในเรื่องสถานที่ท่องเที่ยว จัดอยู่ในระดับต้นๆของประเทศด้วยเช่นกัน ความเจริญด้านอุตสาหกรรม การเจริญด้านการท่องเที่ยว...ทำให้ ชลบุรี เป็นจังหวัดที่มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ผู้คนมากหน้าหลายตาจากทั่วสารทิศของประเทศก็มุ่งหวังที่จะเข้ามาขุดทอง หางานทำ ที่มีอยู่หลากหลายอาชีพ ในชลบุรี...การขยายตัวของที่พักอาศัย การขยายตัวของสถานที่ท่องเที่ยวพักผ่อนเพื่อผ่อนคลายกิเลสตัณหาของผู้มนุษย์ แผ่อาณาบริเวณกินพื้นที่ ท้องทุ่ง ป่าเขา ไปเรื่อยๆ...ความเป็นธรรมชาติ ของพื้นที่เมืองชลบุรี เริ่มหดหายไป...ที่ละน้อยๆ...
อาจจะมีหลายคนที่ยังไม่รู้ว่า ชลบุรี มีผืนป่าธรรมชาติ เป็นผืนป่า ผืนสุดท้ายของจังหวัด และ ยังเป็นเขตอนุรักษ์พันธุ์สัตว์ป่า...ที่อยู่ในความดูแลกรมอุทยานพันธุ์พืชและสัตว์ป่า ฯ "เขาเขียว - เขาชมภู่"
วันนี้ผมเป็นคนแรกที่ได้ลงทะเบียน ในสมุดเข้าเยี่ยมชม เขาชมภู่ ซึ่งเป็นที่ตั้งของ น้ำตกชันตาเถร...ที่นี่ ไม่มีสิ่งเจริญหูเจริญตาของวัตถุนิยมในยุคสมัยใหม่ให้เดินชม ที่นี่ไม่มีแอร์ที่เย็นฉ่ำ ที่นี้ไม่มีอาหารเลิศรสจำหน่ายหรือไว้บริการ...แต่ที่นี้ มี อ๊อกซิเจน มีธรรมชาติที่ยังคงความสมบูรณ์ มีต้นไม้ มีนก มีสัตว์ป่า ฯลฯ ถึงแม้จะเหลือให้เชยชมเพียงน้อยนิด แต่ก็เพียงพอสำหรับ ธรรมชาติใกล้เมือง ที่มีแต่ความเจริญด้านวัตถุอย่าง ...ชลบุรี
นกแต้วแล้วธรรมดา
นกบั้งรอกใหญ่
นกแซงแซวหางบ่วงใหญ่
นกปรอดคอลาย
นกปรอดเหลืองหัวจุก
ผีเสื้อหลากหลายชนิดตามเส้นทางเดินลงสู่ น้ำตกชันตาเถร
สายธารเล็กๆ ที่ไหลมาจากน้ำตก ลงสู่อ่างเก็บน้ำบางพระที่อยู่เบื้องล่าง
ผีเสื้อบนสายธารน้ำตก
น้ำตกชันตาเถร บนเขาชมภู่
ตะกอง
นอกจากนก นอกจากผีเสื้อ ที่ผมได้เชยชม ตลอดเส้นทางของน้ำตกแล้ว ด้วยความเงียบสงบ นักท่องเที่ยวน้อย วันนี้ผมโชคดี ที่ได้เจอ กิ้งก่ายักษ์ตัวสีเขียวหัวสีเทา เดินออกมาให้เชยชม ผมนำภาพถ่ายมาถาม บก.ชาลี หลังไมค์ว่าตัวนี้ชื่อว่ากิ้งก่าอะไร?...ผมได้รับคำตอบจาก บก.ชาลี ว่า ตัวนี้คือ ตะกอง เป็นครั้งแรกที่ผมรู้จักตะกอง จากน้ำตกชันตาเถร
ตะกอง เป็นสัตว์เลื้อยคลานประเภทกิ้งก่าชนิดที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศไทย ตะกอง ชอบที่จะอาศัยหากิน อยู่ในพื้นที่ ซึ่งมีแหล่งน้ำที่อุดมสมบูรณ์และมีสภาพป่าที่ค่อนข้างทึบ เช่นบริเวณป่าดิบแล้งริมลำห้วยที่มีน้ำไหล... สัตว์ ชนิดนี้เวลามันตกใจพบว่ามันจะวิ่ง 2 ขาโดยหุบขาหน้าไว้แนบชิดลำตัว และโดยปกติเมื่อมีภัยมันจะกระโจนลงน้ำ และสามารถดำน้ำได้เป็นเวลานานๆ สำหรับอาหารที่มันกินก็คือ แมลงชนิดต่างๆ,กบ,เขียด,ปลาเล็กๆ,หนูตัวเล็กๆ และผลไม้บางชนิด
ใน ปัจจุบันจำนวนประชากรของตะกองได้ลดลงจากในอดีตมาก เนื่องจากปัญหาการจับตะกองไปเป็นอาหาร ของชาวบ้านรอบๆป่า และปัญหา การบุกรุกทำลายป่าอันเป็นถิ่นที่อยู่อาศัยของตะกองซึ่งมีผลให้บ้านของเจ้า กิ้งก่ายักษ์ถูกลดขนาดให้เล็กลง ... ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ.2535 ประกาศให้ตะกองเป็น"สัตว์ป่าคุ้มครอง"
ผีเสื้อริมธารน้ำ
นกกางเขนดง
กิ้งก่าบิน
พื้นที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาเขียว-เขาชมภู่มีลักษณะเป็นเทือกภูเขาสูงชัน แบ่งออกเป็น 2 ส่วน ยอดเขาที่สูงที่สุดคือ เขาเขียว มีความสูงจากระดับน้ำทะเล 789 เมตร และอีกยอดหนึ่งเตี้ยกว่าเรียกว่า เขาชมภู่ สภาพโดยทั่วไปประกอบด้วยป่าดงดิบแล้ง ป่าดงดิบชื้น และป่าเบญจพรรณ คิดเป็น 80% ของพื้นที่ทั้งหมด
ข้อมูลจากอินเตอร์เน็ต
สิบเอ็ดโมงกว่าๆ ที่ผมลงมาจาก เขาชมภู่ น้ำตกชันตาเถร...แต่ผมยังไม่กลับ ยังไปเดินดูนกต่ออีกนิดที่ อ่างเก็บน้ำบางพระ บริเวณ จุด เนินวังหิน ซึ่งมีเนินเขาเตี้ยๆ อยู่ติดกับบึงน้ำขนาดใหญ่ จุดนี้ผมพบนกหลายชนิด รวมทั้งนกใหม่ที่ผมพึ่งเคยเจอด้วยคือ นกหัวขวานเขียวป่าไผ่
นกกระเต็นอกขาว
นกเค้าโมง หรือ นกเค้าแมว
นกกระแตแต้แว้ด
นกแซงแซวหางบ่วงใหญ่
ตรงจุดนี้ผม เจอฉาก งูเขียวพระอินทร์ ลากเขียด มากิน และ กลืนลงท้องต่อหน้าต่อตา...
งูเขียวพระอินทร์กินเขียด
นกบั้งรอกใหญ่
นกหัวขวานเขียวป่าไผ่
นกกระรางหัวขวาน
นกกะลิงเขียด
นกกระรางหัวหงอก
นกตีทอง
ฝูงนกกาแวน
นกกระจิบสีเรียบ
นกจาบคาเล็ก
นกเอี้ยงด่าง
นกเด้าดินทุ่งเล็ก
นกจาบฝนปีกแดง
ป่าผืนสุดท้าย เขาเขียว-เขาชมภู่...ของจังหวัดชลบุรี เป็นป่าผืนเดียวที่คอยเป็นปอดช่วยซับ ช่วยฟอกควันพิษ จากโรงงานอุตสาหกรรม ในบริเวณใกล้เคียง ที่นับวันจะขยายตัวขึ้นเรื่อยๆ...
ผมได้แต่หวังว่า ป่าผืนนี้ คงจะอยู่คู่ จังหวัดชลบุรี ตราบนานเท่านาน
กดติดตามเพจได้ที่
https://www.facebook.com/soksagtravelling/
(เที่ยวซอกแซก ZogZagTravelling)
(เที่ยวซอกแซก ZogZagTravelling)
https://www.facebook.com/anontaseeha/
(ชายสามหยดพาเที่ยว)
(ชายสามหยดพาเที่ยว)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น