เมื่อก่อนผมเป็นคนที่กลัวกรุงเทพฯ มาก กลัวที่เป็นเมืองใหญ่...กลัวหลงไปไม่ถูกไม่รู้จะไปทางไหน...กลัวการคมนาคม...กลัวผู้คนที่มากมาย...กลัวตำรวจล๊อคล้อถ้าจอดผิดที่ผิดทาง...กลัวโดนจับเมื่อเลี้ยวผิดเลน สาระพัดกลัวฯลฯ ก็กลัวตามประสาเด็กบ้านนอกที่ไม่เคยเข้ากรุง
ถ้าไม่มีความจำเป็น...ผมเลือกที่จะเลี่ยงไม่เข้าไปในกรุงเทพฯ เด็ดขาด
ช่วงหลังๆ ผมเดินทางเข้ากรุงเทพฯ บ่อยขึ้น เพราะลูกสาวเรียนที่นั่น และลูกชาย ก็กำลังจะตามเข้าไปอยู่ที่นั่น อีกคน
ต่อไปผมคงเดินทาง ไปๆมาๆ ระหว่าง พัทยา-กรุงเทพฯ... กรุงเทพฯ-พัทยา ถี่มากขึ้น ถ้าเป็นภาษาแซวแถวบ้านนอกเขาก็จะพูดกันว่า... "ไปกรุงเทพฯ บ่อยเหมือนไปนา" กันเลยทีเดียว
การเดินทางจากพัทยาเข้ากรุงเทพฯ ของผมในช่วงหลังๆ ผมไม่ค่อยขับรถส่วนตัวเข้าไปเอง ส่วนใหญ่จะนั่งรถบัสปรับอากาศ แล้วไปลงเอกมัย หรือสถานีรถไฟฟ้าบีทีเอสอุดมสุข จะไปไหนก็ต่อรถไฟฟ้าได้...สะดวกดี หรือถ้าจะไปฝั่งตลาดนัดสวนจตุจักร ก็นั่งรถบัสปรับอากาศจากพัทยาไปลงหมอชิตได้เลยเช่นกัน
เดินซอกแซก...ชมกรุง
ผมมีความคิดอยากจะเดินชมเมืองกรุง มานานแล้ว อย่างน้อยก็ขอได้เดินเที่ยว เดินถ่ายภาพ รอบๆ "เกาะรัตนโกสินทร์" ก่อนเป็นอันดับแรก
เพราะที่นี่ถือเป็นใจกลางของเมืองกรุง มีสถานที่ ที่น่าสนใจ ให้เที่ยวชมอย่างมากมาย
ผมลงรถไฟฟ้าบีทีเอส ที่สถานีอโศก ต่อด้วยรถไฟฟ้าใต้ดิน เอ็มอาที มุ่งหน้าสู่สถานีปลายทาง หัวลำโพง...ผมกำลังจะไปเริ่ม เดินซอกแซก...ชมกรุง ที่นั่น
สถานีรถไฟหัวลำโพง
หัวลำโพง เป็นสถานีรถไฟเก่าแก่ที่สร้างในสมัยรัชกาลที่ ๕ ในปี พ.ศ.๒๔๕๓ สร้างเสร็จและเปิดใช้งานในปี พ.ศ.๒๔๕๙ เป็นสถาปัตยกรรมแบบตะวันตก จากฝีมือช่างเอกในสมัยรัชกาลที่ ๕ มาริโอ ตามาญโญ่ นายช่างชาวอิตาลี ที่เป็นผู้ออกแแบก่อสร้าง
สถานีรถไฟหัวลำโพง มีลักษณะเป็นโดมสไตล์อิตาเลียนผสมกับศิลปะแบบเนอเรซองซ์
ที่นี่เป็นสถานีรถไฟหลักของประเทศไทย มีรถไฟมุ่งหน้าไปทุกภาคของประเทศ มีขบวนรถไฟเข้าออกตลอดทั้งวัน
หัวลำโพง เป็นสถานีรถไฟเก่าแก่ที่สร้างในสมัยรัชกาลที่ ๕ ในปี พ.ศ.๒๔๕๓ สร้างเสร็จและเปิดใช้งานในปี พ.ศ.๒๔๕๙ เป็นสถาปัตยกรรมแบบตะวันตก จากฝีมือช่างเอกในสมัยรัชกาลที่ ๕ มาริโอ ตามาญโญ่ นายช่างชาวอิตาลี ที่เป็นผู้ออกแแบก่อสร้าง
สถานีรถไฟหัวลำโพง มีลักษณะเป็นโดมสไตล์อิตาเลียนผสมกับศิลปะแบบเนอเรซองซ์
ที่นี่เป็นสถานีรถไฟหลักของประเทศไทย มีรถไฟมุ่งหน้าไปทุกภาคของประเทศ มีขบวนรถไฟเข้าออกตลอดทั้งวัน
ถ้าใครชอบถ่ายภาพแนววิถีชีวิตผู้คน หรือแนวสตรีทเหมือนผม คงปฏิเสธไม่ได้ว่า สถานีรถไฟหัวลำโพง เป็นสถานที่อันดับต้นๆ ที่ช่างภาพเลือกมาเดินเก็บภาพงามๆ ในสถานีรถไฟเก่าแก่แห่งนี้
ภาพวิถีชีวิตของผู้คนที่มีหลากหลายอารมณ์ในสถานีรถไฟหัวลำโพง เป็นภาพที่สวยงาม ในแต่ละวันไม่เคยซ้ำกัน เพราะหลายชีวิตผลัดเปลี่ยนหมุนเวียน กันไปมาที่สถานีรถไฟแห่งนี้
ร้านกาแฟ บนระเบียงชั้นสองภายในโดมของหัวลำโพง คือจุดที่ผมมักไปนั่งจิบกาแฟ แล้วมองลงไปดูวิถีชีวิตที่หลากหลาย ที่มารวมกันอยู่ในโดมแห่งนี้
ที่สถานีรถไฟหัวลำโพง...ทุกชีวิต ...มีความสวยงาม ที่หลากหลาย แตกต่างกันออกไป
จากหัวลำโพง...ซอกแซกไป...เยาวราช
ผมเดินออกจากหัวลำโพงข้ามถนนกรุงเกษม และถนนไมตรีจิตต์ แล้วเดินไปตามถนนพระรามที่ ๔ ผ่านตึกอาคารเก่ารกร้าง ที่ไร้การเหลียวแล จนกลายเป็นสถานที่แสดงงานศิลปะข้างกำแพง กราฟฟิตี้ หรือที่เรียกกันว่า สตรีทอาร์ต
ผมรู้สึกเสียดายตึกเก่าแก่ที่ถูกปล่อยทิ้งร้าง น่าจะมีการอนุรักษ์ปรับปรุงพัฒนาให้สวยงามมากกว่านี้
"แยกหมอมี" ในอดีตเรียกว่าสามแยก แต่ปัจจุบันกลายเป็นห้าแยกใหญ่จุดตัดถนนเจริญกรุง, ถนนพระรามที่ ๔, ถนนทรงสวัสดิ์ และถนนมิตรพันธ์ เป็นรอยต่อของเขตป้อมปราบ กับเขตสัมพันธวงศ์
ที่สถานีรถไฟหัวลำโพง...ทุกชีวิต ...มีความสวยงาม ที่หลากหลาย แตกต่างกันออกไป
จากหัวลำโพง...ซอกแซกไป...เยาวราช
ผมเดินออกจากหัวลำโพงข้ามถนนกรุงเกษม และถนนไมตรีจิตต์ แล้วเดินไปตามถนนพระรามที่ ๔ ผ่านตึกอาคารเก่ารกร้าง ที่ไร้การเหลียวแล จนกลายเป็นสถานที่แสดงงานศิลปะข้างกำแพง กราฟฟิตี้ หรือที่เรียกกันว่า สตรีทอาร์ต
ผมรู้สึกเสียดายตึกเก่าแก่ที่ถูกปล่อยทิ้งร้าง น่าจะมีการอนุรักษ์ปรับปรุงพัฒนาให้สวยงามมากกว่านี้
เดินผ่านศาลเจ้าแห้งเจีย ไปจนถึงแยก แยกหนึ่ง พอผมอ่านป้ายชื่อแยกบริเวณนั้นทำให้ผมอดขำไม่ได้ และชี่อแยกนั้นยังทำให้ผมนึกถึงประโยคที่เคยท่องเล่นกันตอนเด็กๆแล้วทำให้คนฟัง คนท่องต่างก็หวาดเสียวไปตามๆ กัน ประโยคนั้นคือ...
"ยานัดหมอมีแก้ฝีแก้หิด ยานัดหมอชิดแก้หิดแก้ฝี " ฮ่าาาๆๆ หลายคนคงเคยท่อง
ผมกำลังยืนอยู่บริเวณ..."แยกหมอมี"
ผมรู้มาว่าหมอมี และ หมอชิต มีตัวตนจริงๆนะครับ แล้วยังขายยาสมุนไพรประเภทยานัดกันจริงๆซะด้วย...ยิ่งหมอชิตนี้ในอดีตดังมากมีที่ดินมากมาย ที่เราคุ้นหูก็คือ สถานีขนส่งหมอชิต และสถานีโทรทัศน์ช่อง ๗ "วิกหมอชิต" ยังไงหล่ะครับ
ศาลเจ้าแห้งเจีย
ร้านขายยาสมุนไพร บริเวณแยกหมอมี
ลอดช่องสิงคโปร์...แยกหมอมี
บริเวณแยกหมอมี ผมไม่พลาดที่จะแวะเข้าไปนั่งกินลอดช่องสิงคโปร์ ที่ตั้งอยู่ตรงกันข้ามกับโรงหนังสิงคโปร์เมื่อในอดีต
คำว่า ลอดช่องสิงคโปร์ คงมีหลายคน (รวมทั้งผมด้วย) คงคิดว่าน่าจะมีต้นกำเนิดมาจากประเทศสิงคโปร์เป็นแน่แท้ แต่ผมขอบอกเลยครับว่าไม่ใช่ แท้จริงแล้ว ลอดช่องสิงคโปร์มีต้นกำเนิดมาจากเมืองไทยของเรานี่เอง และเกิดขึ้นที่ร้านลอดช่องสิงคโปร์แห่งนี้เป็นที่แรกอีกด้วย
ร้านลอดช่องสิงคโปร์ ที่แยกหมอมี คิดค้นขึ้น และ เริ่มขายมาจากในอดีตจนถึงวันนี้ก็กว่า ๖๐ ปีเข้าไปแล้ว
ชื่อของร้านตั้งขึ้นตามชื่อโรงภาพยนตร์สิงคโปร์ที่ตั้งอยู่ใกล้ๆ กันในสมัยนั้น ทำให้คนที่มากินลอดช่องจึงเรียกกันว่า มากินลอดช่องที่หน้าโรงหนังสิงคโปร์ และเรียกกันสั้นๆ และกลายมาเป็นลอดช่องสิงคโปร์ จนถึงทุกวันนี้
ผมเดินมาร้อนๆ แล้วได้มีโอกาสแวะกิน ลอดช่องสิงคโปร์ เจ้าดังสูตรโบราณดั่งเดิมที่จัดเตรียมใส่ไว้ในแก้ว แก้วละ ๒๐ บาท รู้สึกสดชื่นขึ้นมาทันใด มีแรงเดินซอกแซกได้อีกไกลเลยครับ
ร้านลอดช่องสิงคโปร์ แยกหมอมี
ร้านข้าวต้มกระดูกหมู
คั้นกี่...น้ำเต้าทอง
เดินออกมาจากร้านลอดช่องสิงคโปร์ ขึ้นไปทางเยาวราช ไม่ถึง ๒๐ เมตร ผมก็มองเห็นน้ำเต้าทองใบใหญ่ ๒ ใบในร้านๆ มีผู้คนเดินเข้าไปซื้อน้ำอะไรสักอย่างยกดื่มแล้วก็เดินออกมา ผมอยากรู้ก็เลยอ่านป้ายดู ถึงรู้ว่าเป็นร้าน เครื่องดื่มยาสมุนไพรโบราณ...นั่นเอง
ร้านน้ำเต้าทองคั้นกี่ เป็นร้านเก่าแก่ที่ตั้งอยู่ตรงแยกหมอมี มาอย่างยาวนาน
น้ำที่มีชื่อในร้านของเค้าก็มีหลายตัว เช่น น้ำขม น้ำหวาน น้ำจับเลี้ยง น้ำใบบัวบัก น้ำมะขามป้อม
สรรพคุณ : ช่วยแก้ร้อนใน บำรุงสุขภาพ ปรับสมดุลหยินในร่างกาย แก้ไอ แก้เจ็บคอ บำรุงสมอง แก้ความจำ รักษาโรคกระเพาะ ขับปัสสะวะ
ร้านคั้นกี่ น้ำเต้าทอง
เดินซอกแซกสู่...เยาวราช
จากแยกหมอมี ผมเดินไปตามถนนทรงสวัสดิ์ ผ่านแผงพระเครื่องหลายเจ้า เซียนใหญ่ เซียนน้อยกำลังส่องพระกันเพลิน ถึงจะมีไม่มากแต่ก็ดูคึกคัก มีทั้งแผงใหญ่ แผงเล็ก ขาประจำ ขาจร
ผมไม่ได้ส่องพระนานแล้วเลยไม่ได้แวะเข้าไปดู
เดินถึงสี่แยกเฉลิมบุรี แล้วเลี้ยวขวา
ผมกำลังเดินอยู่บนถนนเยาวราช...ที่ได้รับการกล่าวขานและขนานนามว่าเป็น "ถนนมังกร"
ผมอยู่บนตัวมังกร...กำลังเดินเข้าไปสู่ท้องมังกร ครับ